Co-Learning Space 24 ชม. แหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ของเด็กยุคดิจิทัล


วิถีการเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษาในยุคดิจิทัลเปลี่ยนแปลงไปจากสมัยก่อนที่ไม่หยุดอยู่แค่ในห้องเรียนและห้องสมุดอีกต่อไป เพราะการเรียนการสอนในยุคปัจจุบันเน้นให้เด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ เป็นผู้เริ่มตั้งคำถาม และออกค้นคว้าหาข้อมูลจากสิ่งต่างๆ รอบตัว “ศูนย์การค้า” จึงกลายเป็นจุดนัดพบที่สำคัญ สำหรับทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งการแลกเปลี่ยนความรู้ ทำการบ้าน ค้นหาไอเดียใหม่ๆ เช่นเดียวกับ ศูนย์การค้า เดอะสตรีท ที่ได้แชร์พื้นที่ส่วนกลาง สร้างเป็น Co-Learning Space(โค เลิร์นนิ่ง สเปซ)”ให้นักเรียนนักศึกษามาใช้พื้นที่เพื่อการเรียนรู้ร่วมกันได้24 ชม.

นายพงษ์ศักดิ์ นันตวรรณกุลกรรมการผู้จัดการ บริษัท เดอะ สตรีท รีเทล ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์การค้า เดอะ สตรีท รัชดา กล่าวว่า “พื้นที่ Co-Learning Space (โค เลิร์นนิ่ง สเปซ) เกิดขึ้นจากการมองเห็นกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ที่มาใช้บริการในศูนย์การค้า และมาใช้พื้นที่ต่างๆ เพื่อท่องตำรา ทำงานกลุ่ม และติวหนังสือ ทางศูนย์การค้าจึงได้แชร์พื้นที่ของศูนย์การค้าเป็นพื้นที่สำหรับการเรียนรู้นี้ขึ้นมา

โดย “Co-Leaning Space” ของศูนย์การค้า เดอะสตรีท รัชดา มีพื้นที่ประมาณ 400 ตร.ม. แบ่งออกเป็น 3โซน ได้แก่ โซนที่ 1บริเวณชั้น Bพื้นที่โล่งมีการจัดโต๊ะ เก้าอี้ ปลั๊กไฟ ใกล้ร้านอาหาร เครื่องดื่ม ที่เปิดให้บริการ 24ชม. โซนที่2บริเวณ ชั้น 1ด้านข้าง COLLECTIVEจัดแบ่งเป็นห้องสี่เหลี่ยม จำนวน 2ห้อง มีโต๊ะขนาดใหญ่ เก้าอี้ และกระดาน เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักเรียนได้มาติวหนังสือ หรือทำงานกลุ่มกันและโซน 3 บริเวณชั้น 3 ติดทางออกลานจอดรถ เป็นพื้นที่โล่ง จัดโต๊ะเก้าอี้เช่นเดียวกับชั้น B”

ด.ญ. สุชญา รุ่งเรือง(น้องนิว)นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ       รัชดา เล่าว่า “รูปแบบการเรียนในปัจจุบัน  เน้นการทำรายงานเป็นกลุ่ม เพื่อให้ทุกคนได้ช่วยกันระดมสมอง จึงจำเป็นต้องใช้เวลาหลังเลิกเรียนในการทำงาน โดยสถานที่ที่มักจะไปนั่งทำงานกับเพื่อนๆ เป็นประจำคือ ห้างสรรพสินค้าใกล้โรงเรียน อย่างเดอะสตรีท รัชดา เพราะมีพื้นที่สะดวกสบาย มีปลั๊กไฟให้ต่อคอมพิวเตอร์ มีอาหารให้เลือกรับประทานมากมาย และหากขาดเหลืออุปกรณ์การทำรายงานอะไรก็สามารถหาซื้อได้ทันที ที่สำคัญคือ แอร์เย็นสบายไม่มียุง ปลอดภัย สามารถคุยกัน หารือกันได้ เพราะบางครั้งทำงานที่ห้องสมุดของโรงเรียนจะคุยกันเสียงดังไม่ได้”

ด้านด.ญ.ศิริลักษณ์ แสนคำสุข(น้องมายด์)เพื่อนร่วมชั้นของน้องนิว เล่าว่า “ชอบและอยากให้มีCo-Learning Spaceเพิ่มมากขึ้น นอกเหนือจากการมาทำงานแล้วก็จะมานั่งทำการบ้านร่วมกัน มาช่วยกันวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่หาได้จากอินเตอร์เน็ต เพราะปัจจุบันข้อมูลในโลกออนไลน์มีมากมาย จึงจำเป็นต้องเอาข้อมูลของหลายๆ คนมาช่วยกันหาคำตอบที่ถูกต้อง รวมถึงการนั่งติวบทเรียนหลังจากที่ได้เรียนมา ซึ่งบางครั้งยังได้เพื่อนต่างโรงเรียน มาร่วมกันแชร์ความรู้และเทคนิคการเรียน ทำให้ได้วิธีการคิดแบบใหม่อีกด้วย” 

ส่วนรุ่นพี่อย่าง นายพชร อีมโชคชัย(พส)นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะการจัดการนวัตกรรม วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเล่าว่า “ปกติแล้วจะมานั่งทำงานกับเพื่อนๆ ที่ห้างสรรพสินค้าเป็นประจำ หากทำงานเป็นกลุ่มใหญ่ที่ต้องช่วยกันระดมสมองออกความคิดเห็น ก็จะมานั่งในโซน Co-Learning Spaceเพราะสามารถใช้เสียงได้ แต่หากติวกันเป็นกลุ่มเล็กน้อยไม่กี่คนก็จะไปนั่งที่ร้านกาแฟกัน ที่นี่มีความสะดวกสบาย ในเรื่องของที่จอดรถ มีอาหารเครื่องดื่ม มีปลั๊กไฟ มีห้องน้ำ บางจุดของห้างสรรพสินค้าก็มีอินเทอร์เน็ต โต๊ะเก้าอี้ ให้ใช้ฟรี และที่สำคัญคือบางร้านเปิดให้บริการ 24ชั่วโมง สามารถนั่งคิดงานได้แบบยาวๆ ทำให้ไอเดียของเราไม่สะดุดนอกจากนี้การมานั่งทำงานที่ห้างสรรพสินค้า ยังทำให้เราได้อินสไปเรชั่นใหม่ๆ นำไปใช้ในงาน เพราะข้อมูลบางอย่าง เช่น ไลฟ์สไตล์ หรือเทรนด์ ของผู้บริโภคไม่สามารถค้นหาได้ในอินเตอร์เน็ตเพียงอย่างเดียว”

ด้วยยุคสมัยที่หมุนไปอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี ทำให้การเรียนรู้อยู่กับที่ในห้องเรียนหรือห้องสมุด ไม่สามารถตอบโจทย์การท่องโลกแห่งการเรียนรู้ของเยาวชนคนรุ่นใหม่อีกต่อไป ฉะนั้นการได้ออกไปเรียนรู้ ในสถานที่จริง ที่สามารถสัมผัสประสบการณ์ต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง ได้กลายเป็นกุญแจสำคัญของการพัฒนาองค์ความรู้ของเยาวชนไทยยุค 4.0 

Tags: The Street Ratchada เดอะ สตรีท รัชดา co-working space co-learning space